วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมอิสลาม

วัฒนธรรมอิสลาม



อาจจะกล่าวถึงปัจจัยของการเกิดวัฒนธรรมแล้วละก็ จะเห็นว่ามีความสลับซับซ้อนไม่น้อยเลยที่เดียว จนถึงขั้นที่ว่ามีทัศนะแตกต่างกันอย่างกว้างขวางในการกำหนดฐานะภาพ สาเหตุ และผลที่เกิดขึ้นของวัฒนธรรม ฉะนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวลองมาพิจารณาทัศนะของนักคิดอิสลาม


วัฒนธรรมและอารยธรรมอิสลามนั้นคือตัวเผยโฉมหน้าความจริงของประเด็นร่วมดังกล่าวนี้ กล่าวคือ วะฮยูของพระเจ้าคือพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมอิสลาม มิใช่มนุษย์ ส่วนศาสนาคือสถานทีย้อนกลับของวัฒนธรรมและอารธรรมทั้งหมด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือฐานรากอันเป็นพื้นฐานของวิชาการทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาปรัชญา  และญาณวิทยานับว่าเป็นบิดาแหล่งวิชาการทั้งหลาย ซึ่งนักประวัติศาสตร์เองต่างให้การยอมรับประเด็นดังกล่าว


นักวิชาการบางท่านเวลากล่าวถึงเรื่องวัฒนธรรมอิสลาม จะไม่กล่าวถึงความแตกต่างระว่างวัฒนธรรมและอารยธรรม บางครั้งพวกเขาใช้คำทั้งสองนั้นในความหมายเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่าหลักการของวัฒนธรรมและอายธรรมนั้นประกอบไปด้วย
การรู้จักพระเจ้า
ซึ่งสิ่งสำคัญประการแรกของวัฒนธรรมอิสลามคือ การรู้จักพระเจ้า บนพื้นฐานพิเศษนั่นเองอิสลามจึงถือว่าส่วนที่เล็กที่สุดบนโลกนี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งสิ้น ปัจเจกบุคคลและสังคมมีความสัมพันธ์กับพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก วัฒนธรรมอิสลามวางอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว ส่วนโลกและจักรวาลซึ่งมีคุณสมบัติมากมายหลายประการ ประกอบกับปรากฏการณ์ต่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ล้วนเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของเหตุและผล ซึ่งเป็นไปตามประสงค์ของพระผู้อภิบาล ซึ่งความประสงค์ของพระองค์นั้นครอบคลุมอยู่เหนือสรรพสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกนี้ ขณะที่ความประสงค์ของพระองค์จะไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลเด็ดขาด
อัล-กุรอาน กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง (ซูเราะฮฺ อัรเราะอฺดฺ /11)
ความอมตะของวัฒนธรรมอิสลาม
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมื่อวัฒนธรรมอิสลามจนกระทั่งการสร้างโลกนั้น มีความสัมพันธ์กับพระผู้อภิบาล แน่นอน สิ่งนี้ย่อมสิ้นสุดลงที่ความเป็นอมตะนิรันกาล ด้วยคุณลักษณะดังกล่าววัฒนธรรมอิสลาม คือ วัฒนธรรมที่มีความมั่นคงและเป็นอมตะ ซึ่งความเป็นอมตะของวัฒนธรรมอิสลามนั้น ปรากฏครอบคลุมในทุกๆ ด้านของมัซฮับ (นิกาย) ไม่ว่าจะเป็นหลักความเชื่อศรัทธา จริยธรรม และหลักการปฏิบัติ และวัฒนธรรมคือบทบาทสำคัญในการก่อเกิดเป้าหมายแห่งสาส์นของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) อันเป็นสาเหตุทำให้จิตวิญญาณและจิตใจมีมนุษย์ มีความสงบเชื่อมั่น และควบคุมความต้องการ และแรงปรารถนาที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของมนุษย์ให้อยู่ในความพอดี ทำให้เขาประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้า และได้รับชัยชนะในที่สุด
การมีเกียรติครบบริบูรณ์
วัฒนธรรมอิสลามมีความกว้างไกลชนิดที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในความกว้างไกลนั้นมีความสัมพันธ์พิเศษ และในทุกส่วนของวัฒนธรรมนั้นมีมาตรฐานและวางอยู่บนเงื่อนไข ซึ่งทั้งหมดมาจากแหล่งของสติปัญญาเดียวกัน ในความหมายก็คือโดยธรรมชาติแล้วทุกส่วนของวัฒนธรรมนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่ทุกส่วนเหล่านั้นจะไม่มีอำนาจหรือปราศจากการควบคุมดูแล
การสร้างสรรค์และการขับเคลื่อน
มนุษย์นั้น ตามพระประสงค์ของพระเจ้าพวกเขาคือตัวแทนของพระผู้อภิบาลบนหน้าแผ่นดิน และแน่นอนว่า การเกิดขึ้นของฐานะภาพดังกล่าวในภายนอก จำเป็นต้องพึ่งพาความอิสระสมบูรณ์ ฉะนั้น การไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดของความเป็นมนุษย์ การสามารถควบคุมธรรมชาติและเจตนารมณ์เสรีได้นั้น ต้องเข้าใจสาเหตุและความเป็นไปได้เสียก่อน ฉะนั้น ทุกย่างก้าวที่ก้าวเดินไปบนหนทางของการรู้จักความจริง และการค้นหากฎเกณฑ์อันเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใดก็ตาม ถือว่าเขาได้ย่างก้าวไปสู่เป้าหมายศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้ถูกเตรียมพร้อมไว้แล้วสำหรับมนุษย์ และตามความเป็นจริงแล้วการได้มาซึ่งตำแหน่งแห่งความสมบูรณ์ ซึ่งมนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสิ่งนั้น และในที่สุดแล้วมนุษย์ทุกคนต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ และพระผู้อภิบาลทรงมอบกุญแจแก่มนุษย์ทุกคน พร้อมกับกำชับว่าการดำเนินไปบนหนทางดังกล่าวต้อง อาศัยองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ การเชิญชวนของบรรดาศาสดา ความทุกข์โศก และการทดลองต่างๆ เพื่อให้ไปถึงยังความสมบูรณ์อันเฉพาะ ซึ่งเป็นคำสั่งแก่มนุษย์ทั้งหลาย
วัฒนธรรมอิสลาม คือวัฒนธรรมที่มีการขับเคลื่อน สร้างสรรค์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะส่งเสริมมนุษย์ไปสู่ความก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ทุกๆ การค้นพบใหม่ และทุกการรู้จักถือว่าเป็นรหัสอันเร้นลับในธรรมชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการสร้างและความสมบูรณ์ของมนุษย์ สิ่งนี้เองเป็นหนทางที่จะนำพามนุษย์ไปสู่การรู้จักพระผู้อภิบาล การดำเนินไปบนหนทางดังกล่าว ด้วยการอิบาดะฮฺ ถือเป็นความจำเป็นต่อการแสวงความใกล้ชิดไปยังอัลลอฮฺ และความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์
ความเป็นเอกภาพและหนึ่งเดียว
สิ่งนี้ถือเป็นหนึ่งในความพิเศษ อันถือว่าเป็นความพิเศษที่สำคัญที่สุดของวัฒนธรรมอิสลาม หมายถึงทุกๆ การเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรมที่เกิดในแต่ละส่วนนั้น จำเป็นต้องสอดคล้องและเข้ากันได้กับทุกการขับเคลื่อน จนถึงขั้นที่มนุษย์สามารถรับฟังเสียงดนตรีแห่งโลกของการมีอยู่ได้ เสียงดนตรีทีแซ่ซ้องด่วยยคำสรรเสริญของสรรพสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกนี้ โดยพร้อมเพียงกัน
การพัฒนาการด้านวัฒนธรรมตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า เหล่าบรรดาศาสดาคือศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมทั้งหลายของมนุษย์ บรรดาศาสนาต่างๆ สามารถเป็นศูนย์กลางหลักสำคัญ 3 ประการ ทั้งกองกำลัง คุณค่าทั้งหลายความรู้และอำนาจทางการเมือง ซึ่งศูนย์กลางทั้งสามตามความเป็นจริงแล้วคือ องค์ประกอบสำคัญสำหรับศาสนา อันเป็นศูนย์กลางที่ครองคลุมเหนือระบบของวัฒนธรรมอีกทีหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์ต้องทำความรู้จักกับวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งมีบทบาทต่อการเปลี่ยนโครงสร้างของระบบความคิดทั้งหมดในสังคม อีกนัยหนึ่ง มนุษย์คือผู้ตามหาวัฒนธรรม ซึ่งโฉมหน้าที่แท้จริงคือ อัล-รอาน และอัล-กุรอาน ในรูปหนึ่งคือคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมา สวนรูปโฉมที่แท้จริงอีกประการหนึ่งของอัล-กุรอาน คือ เมื่อคำว่า อัลลอฮฺ ได้ปรากฏอย่างแท้จริงในสังคม มนุษย์ไม่สามารถทำให้ความปรารถนาต่างๆ ทางสังคมเป็นหนึ่งเดียวได้ โดยอาศัยความสมบูรณ์ทางวัตถุเพียงอย่างเดียว การที่จะทำให้สังคมมีความเป็นหนึ่งได้คือ การจัดวางรากฐานของระบบเคาะลิฟะฮฺ และการค้นพบศูนย์กลางที่แท้จริงเพื่อการเคารพภักดี ถ้ามิเช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถเป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น